Lifestyle

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า วัดที่เปิดรับทำบุญไถ่ชีวิต โค-กระบือ เชื่อถือได้

กลโกงหลอกทำบุญ

ว่ากันด้วยเรื่องของการทำบุญในปัจจุบันนั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ง่ายดายมากขึ้น เพียงแค่โอนเงินก็สามารถทำได้แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยที่มีน้ำใจมักโอนไวกันอยู่เสมอๆ จนเป็นช่องทางให้กับเหล่ามิจฉาชีพได้เข้ามาหลอกหลวงกันจนเป็นข่าวคราวมากมายจากความขี้สงสารของทุกๆ ท่านนั้นเอง บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “วิธีเช็คให้รู้ก่อนทำบุญ ไถ่ชีวิต โค-กระบือ” กันครับ

การทำบุญ ไถ่ชีวิตสัตว์ใหญ่อย่าง โคกระบือ เป็นอย่างไร?

การไถ่ชีวิตโค กระบือ ก็คือการที่ซื้อชีวิตโค กระบือ ที่กำลังจะถูกส่งไปฆ่ายังโรงฆ่าสัตว์ ให้สัตว์เหล่านั้นได้เป็นอิสระและมีชีวิตอยู่รอดต่อไปเพื่อทำคุณประโยชน์ด้านเกษตรกรรมหรือ เป็นแรงงานให้กับชาวบ้านที่ขาดทุนทรัพย์ ซึ่งโค-กระบือ เหล่านี้จะห้ามไม่ให้ครอบครอง ซื้อขายต่อเป็นอันขาดนั้นเองครับ

วิธีเช็คกลโกงหลอกทำบุญ

เราสามารถตรวจสอบบัญชีที่เปิดรับบริจาคเพื่อเช็คดูเครดิตว่าเคยใช้โอนบริจาคตามที่ต้องการหรือไม่ อีกทั้งเราสามารถให้ทางเจ้าของบัญชีที่เปิดรับบริจาคแสดงบัญชี รายละเอียดการโอนจ่ายต่างๆ เพื่อความบริสุทธิ์ใจได้อีกด้วย หรืออาจจะติดต่อกับกรมปศุสัตว์เพื่อตรวจสอบการบริจาคได้เช่นกันครับ

แนะนำ 2 ช่องทางการทำบุญไถ่ชีวิต โคกระบือ

ไถ่ชีวิต โค-กระบือ ณ วัดยานนาวา กรุงเทพ เป็นอีกกหนึ่งวัดที่มีการจัดงานบุญ ไถ่ชีวิตโค-กระบือ เช่นเดียวกับวัดอื่นๆ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคได้ที่ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย สาขาบางรัก บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 006-2-28299-9 ชื่อบัญชี “วัดยานนาวา (เพื่อไถ่ชีวิตโค-กระบือ)” ได้นั้นเองครับ (ทั้งนี้ควรตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งการทำการก่อนเสมอๆ ครับ)

ไถ่ชีวิต โค-กระบือ ณ วัดหัวลำโพง กรุงเทพ “วัดหัวลำโพง” เป็นวัดอารามหลวง ตั้งอยู่แขวงสี่พระยา กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดวัวลำพอง เมื่อมาวัดนี้การทำบุญหนึ่งที่เป็นที่รู้จักนั้นก็คือ การทำบุญซื้อโลงศพ ให้แก่ศพไม่มีญาติ ซึ่งการบริจาคโลงศพนั้น เชื่อกันว่าจะได้อานิสงส์แรง จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่ง สามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆ และผ่อนหนักเป็นเบาได้ และยังมีการจุดให้ร่วมทำบุญ ไถ่ชีวิตโคกระบืออีกด้วยครับ(ทั้งนี้ควรตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งการทำการก่อนเสมอๆ ครับ)

แชร์ 4 แนวทางการป้องกัน โดนหลอกโอนเงิน

ตั้งสติเป็นอันดับแรก เราควรที่จะระวัง ช่างสังเกต อย่าให้ข้อมูลกับใครง่ายๆ ไม่ว่าข้อความนั้นจะส่งมาจากใคร ผ่านช่องทางใดก็ตาม เพราะเดี๋ยวนี้มิจฉาชีพมาแบบแนบเนียนมากสามารถส่ง SMS มาในชื่อของแบงก์ องค์กรที่น่าเชื่อถือหรือเบอร์โทรที่เราคุ้นเคยได้ อย่ารีบร้อนและไม่ทำธุรกรรมทางการเงินพร้อมๆ กับทำกิจกรรมอื่นๆ เพราะอาจทำให้เผลอและขาดความระมัดระวังได้

อย่าให้หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวในทันที เนื่องจากธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความ ขอข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เช่น เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขที่บัตรเครดิต/เดบิต วันเดือนปีเกิด Login Name รหัสผ่านต่างๆ หรือ OTP ใดๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล, SMS, LINE, Facebook Messenger เป็นต้น หากไม่แน่ใจโทรถาม call center ของธนาคารนั้นๆ

สังเกตลิงก์ที่แนบมากับข้อความเสมอ ว่าลิงก์นั้นเป็นเว็บไซต์ของธนาคารจริงหรือไม่? ไม่ควรคลิ๊กมั่วๆ ครับ

ไม่ใช้ Wi-Fi สาธารณะ ในการทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ เพราะมีช่องโหว่ให้มิจฉาชีพเจาะเอาข้อมูลสำคัญเช่น Username, Password  ในการเข้าไปขโมยเงินในบัญชีของเราได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำบุญอย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก” ที่เราได้หามาฝากทุกๆ ท่านกันนบทความนี้ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านนะครับ