Lifestyle

ทำความรู้จักกับการตักบาตร

การตักบาตร

ว่ากันด้วยเรื่องของการทำความดีของคนเรานั้น สามารถทำได้หลากหลายอย่างให้เราได้เลือกทำกัน ไม่ว่าจะเป็นการเป็นคนดี ทำตามกฏเกณฑ์ต่างๆ และช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น แต่ก็จะมีอีกสิ่งหนึ่งของความดีที่คนไทยเรามักจะชอบทำกันนั้นก็คือ “การทำบุญตักบาตร” ที่เรามักจะทำกันทุกเช้า วันนี้เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ “การตัดบาตร” ว่ามีนิยามอย่างไรกันครับ

การตักบาตรคืออะไร?

●การตักบาตร คือ การถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณร รูปเดียวหรือหลายรูป จะปฏิบัติเป็นประจาหรือ เป็นครั้งคราวก็ได้โดยวัตถุประสงค์ของการตักบาตร นอกจากจะเป็นการให้ทาน และเพื่อบูชาคุณแล้ว ยังเป็นการ ส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนาอีกด้วยครับ

วิธีการตักบาตรที่ถูกต้อง

●ขณะรอใส่บาตรให้ทำจิตตั้งมั่นไว้ว่าจะใส่บาตรโดยไม่เจาะจงเมื่อพระเณรรูปใดเดินผ่านมาก็ใส่บาตรไปตามลำดับจนหมดอาหารที่เตรียมมาไม่เลือกใส่องค์นี้ไม่ใส่องค์นั้นการใส่บาตรโดยไม่เจาะจงนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่ามีผลานิสงค์มากกว่าการใส่บาตรโดยเจาะจง

●เมื่อพระภิกษุเดินมาใกล้จะถึงที่ที่เราอยู่พึงอธิษฐานจิตเสียก่อนโดยถือขันข้าวด้วยมือทั้งสองนั่งกระหย่งยกขันข้าวขึ้นเสมอหน้าผากกล่าวคำอธิษฐานว่า “สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสิ้นกิเลสเถิด”

●จากนั้นลุกขึ้นยืนและถอดรองเท้าเพราะการสวมรองเท้าถือว่ายืนสูงกว่าพระถือเป็นการไม่สมควรเหมือนเป็นการขาดความเคารพแต่ก็ไม่กรณียกเว้นเช่นเท้าเจ็บหรือเป็นที่น้ำขังเฉอะแฉะเป็นต้นแต่ที่ไม่ควรก็คือบางคนถอดจริงแต่กลับไปยืนอยู่บนรองเท้าเสียอีกยิ่งสูงไปกันใหญ่ดังนั้นถ้าตั้งใจจะไม่ใส่รองเท้าก็จัดที่ให้พระสงฆ์ยืนสูงกว่า

●เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้วถ้ามีโต๊ะรองอาหารหรือรถยนต์จอดอยู่ด้วยให้วางขันข้าวบนนั้นยืนตรงน้อมตัวลงไว้พระสงฆ์แต่ถ้าตักบาตรรอยู่ริมทางควรนั่งแล้ววางขันข้าวไว้ข้างตัวยกมือไว้พระสงฆ์พร้อมกับอธิษฐานว่า “นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ขอให้ข้าพเจ้าเจริญในพระศาสนาของศาสดา”

●หลังจากนั้นควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการกรวดน้ำและกล่าวว่า “อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอบุญทั้งหลังจงสำเร็จแก่ญาติของข้าพเจ้า ขอให้ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายจงเป็นสุข เป็นสุขเถิด”

ทำไมผู้หญิงถึงถวายของกับมือพระไม่ได้?

สำหรับข้อห้ามที่ว่า ผู้หญิงห้ามโดนตัวพระ ความจริงแล้วที่มาของคำสอนนี้มาจากบทบัญญัติวินัยของภิกษุหมวดอาบัติ สังฆาทิเสสข้อ 2 มีใจความว่า “ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ จับต้องกายหญิงต้องสังฆาทิเสส” โดยมีความหมายว่า หากภิกษุมีความรู้สึกพึงพอใจ หรือมีอารมณ์ทางเพศกับสุภาพสตรีแล้วเอามือไปสัมผัสถูกกายสุภาพสตรี หรือภิกษุเอาร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของภิกษุไปสัมผัสเข้ากับกายของสตรี ภิกษุนั้นต้องอาบัติ “สังฆาทิเสส” ซึ่งคำว่าอาบัตินี้คือการปรับความผิดกับพระสงฆ์เท่านั้นไม่ได้ปรับความผิดแก่ฆราวาส ดังนั้นความจริงแล้วก็คือ ห้ามพระถูกต้องกายหญิงต่างหาก ไม่ได้เป็นข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงถูกต้องกายพระแต่อย่างใด แต่ความหมายนั้นมีใจความไปในทำนองเดียวกัน ชาวบ้านจึงเข้าใจและได้มีการพูดและสั่งสอนลูกหลานที่เป็นเด็กผู้หญิงกันมาแบบนี้นั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “การทำบุญตักบาตร” ที่เราได้นำมฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะชอบและเป็นประโยชน์กันนะครับ